จากท้องทุ่งรังสิตสู่ดินแดนประวัติศาสตร์เก่าแก่ ณ เมืิองอยุธยา
วัดใหญ่ชัยมงคล
พระเจดีย์ ชัยมงคล ซึ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างขึ้นที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่ได้ทรงทำยุทธหัตถี ได้ชัยชนะแก่สมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้น ประมาณว่ามีความสูงจากพื้นดินราว ๑ เส้น ๑๐ วาและชาวบ้านได้นำเอาชื่อวัดกับนามพระเจดีย์มาประกอบกันเรียกขานกันต่อมาว่า “วัดใหญ่ชัยมงคล” จนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาแห่งพม่าแล้ว ได้ทรงมีพระราชศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ขึ้นเป็นงานใหญ่ พร้อมทั้งได้ทรงสร้างพระเจดีย์ชัยมงคลเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย
ชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น เป็นชัยชนะครั้งสำคัญที่สุด นับตั้งแต่ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทยที่เมืองแครง เมื่อปีวอก พุทธศักราช ๒๑๒๗ หลังจากที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ใต้อำนาจของชาติอื่นมาเป็นเวลาถึง ๑๕ ปี
วัดพนัญเชิง
ตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่[พระเจ้าอู่ทอง]จะสร้างกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี 26 ปี ตอนสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ใน สภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฎมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่อัศจรรย์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก
วัดพนัญเชิงเป็นวัดใหญ่ที่สำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดอยุธยาตั้งอยู่ที่แหลมบางกะจะ เป็นวัดที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งชาวบ้านนับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์กันมาก ตำนานเกี่ยวกับการสร้างวัดพนัญเชิงนั้นมีมาเก่าแก่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโต องค์นี้ว่าซำปอกง
วัดส้ม
วัดส้ม เป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรใหญ่ (คลองท่อ) แต่เดิมโบราณสถานมีสภาพเป็นเนินดิน มีปรางค์ประธานที่มีลวดลายปูนปั้นเหลือเพียงองค์เดียว และมีต้นโพธิ์ วัชพืชอื่นๆ ขึ้นสอดแทรกเข้าไปตามหลืบตามรอยแตกของอิฐของปูนที่ก่อเป็นองค์ปรางค์อยู่ เป็นเหตุให้ชิ้นส่วนบางส่วนของปรางค์ถูกรากโพธิ์ดันให้แตกหลุดร่วงลงมาหรือไม่ก็รัดห่อหุ้มเอาไว้อย่างหนาแน่น ภายในห้องเรือนธาตุของปรางค์ก็มีร่องรอยของการขุดหาของเก่าจนเป็นหลุมลึกลงไป และเปลี่ยนสภาพเป็นที่ทิ้งเศษศาลพระภูมิชำรุดและอื่นๆ ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศขอบเขตพื้นที่วัดส้มแห่งนี้ให้เป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์
ปราสาททอง
ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมาก มีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมร เช่นการสร้างปรางค์ปราสาทที่วัดไชยวัฒนาราม และที่อำเภอนครหลวง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป (ทรงเครื่องกษัตริย์) อันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยา พระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น