เรียนรู้อย่างแตกต่าง..
มิวเซียมสยาม
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
คุณรู้ไหมว่า..
ทำไม???
ทำไมถึงฝรั่ง? ทำไมต้องไทย? ทำไมต้องจีน?
สุวรรณภูมิทำไม? สยามทำไม?
ทำไม ทำไม ทำไม?
คุณรู้จักคำว่า "สยาม"ดีแ่ค่ไหน?
เรามาร่วมเปิดประตูสู่่โลกทัศน์แห่งใหม่!!
ณ ย่านชุมชนแออัดทั้งยานพาหนะไปถึงผู้คนมากมายแสนวุ่นวาย
แต่ก็ยังมีอีกมุมมองหนึ่งที่ยังมองเห็นในด้านอีกด้านหนึ่ง
ที่ส่วนใหญ่ผู้คนทั่วไปมักไม่ให้ความสนใจและความสำคัญ
ผมจะพาทุกท่านร่วมย้อนรำลึกจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
เราต้องคอยสังเกตุว่า
โลกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ ทุกๆวัน
เดี๋ยวนี้คนรุ่นใหม่ !!
ก็มักจะลืมตัวตนที่แท้จริงกันไปหมดแล้ว..
ร่วมสืบสานตำนานลูกทุ่งที่นิทรรศการ "จับไมค์ ใส่ขนนก"
ตึกเก่าเล่าเรื่อง
เกี่ยวกับความเป็นมาและการวางรากฐานของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
เบิกโรง
คุณจะได้พบกับตัวละครทั้งเจ็ดที่จะนำเราไปสู่เรื่องราวอันเปิดต้นกำเนิด จากสุวรรณภูมิ สู่สยามประเทศ
ถึงประเทศไทย เพื่อค้นหาคำตอบว่า... เราคือใคร ใครคือไทย?
ไทยแท้(Typically Thai)
ทางขึ้นไปชั้นที่2 มีการเล่นเอฟเฟคท์กับกระจก ทำให้เกิดมิติ
น้องๆคงสงสัยกับเจ้าตัวกบน้อยที่มีอยู่ทั่วไปรอบพิพิธภัณฑ์
มันคือ ตัวดำเนินเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์มีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ต้นจนจบ
สุวรรณภูมิ(Suvarnabhumi)
มาร่วมทำความรู้จัก "สุวรรณภูมิ" ดินแดนแห่งทอง ผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง
โลหะ และความเชื่อ-ผี-พราหมณ์-พุทธ แล้วคุณจะรู้ว่า สุวรรณภูมิ คือ "เงาของเรา"
พุทธิปัญญา(Buddhism)
้ิเย ธมมา (อ่านว่า เย-ทำ-มา) คาถายอดนิยมแห่งยุคุวรรณภูมิ
มูลเหตุแห่งความใจกว้างและสันติ
กำเนิดสยามประเทศ(Founding of Ayutthaya)
มาดูการคลี่คลายของนครรัฐเล็กๆ ก่อนกำเนิดเป็นกรุงศรี
พร้อมติดตามตำนานของท้าวอู่ทองวีรบุรุษผู้สร้าง
สยามประเทศ(Siam)
กรุงศรีอยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทั้งยังมีึความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ
และด้วยอำนาจทางการเมืองที่กว้างใกล ทำให้สามารถควบคุมการผลิตภายใน
ราชอาณาจักรได้ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังเป็นอาณาจักรที่อยู่ใกล้ทะเล
จึงพัฒนาตัวเองขึ้นเป็นศุนย์กลางการค้าทางทะเลของภูมิภาค และผลสืบเนื่อง
จากการค้าขายนี่เอง ทำให้เกิดการผสมผสานและความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม
ที่หลากหลายขึ้นในแผ่นดิน ไม่ว่าจะเป็น การเมือง การทหาร ภาษา สถาปัตยกรรม
คำให้การเรื่องความยิ่งใหญ่ ของกระบวนเรือพยุหยาตรา ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์
แต่ก่อนนี้มีประเพณีอยู่ว่า ในโอกาสเดียวกันนี้ จะได้ทรงประกอบพระราชพิธี "ฟันน้ำ" คือ
ใช้พระแสงฟันน้ำในยามที่น้ำท่วมใหญ่ บังคับให้น้ำถอยถดลดลงไป แต่บางทีน้ำก็กลับท่วมขึ้นมาอีก
แทนที่จะลดลงไปตามพระราชบัญชา จึงทรงล้มเลิกประเพณี
กระบวนเรือพระราชพิธี The Royal Barge Procession
กรุงศรีอยุธยา หลากหลาย ผสมผสาน
กรุงศรีอยุธยามีชาวต่างชาติต่างภาษาอาศัยอยู่มาก มีทั้งผูิ้คนที่อพยพหนีร้อนมาำพึ่งเย็น
ทั้งที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อยามสงคราม และพวกที่เข้ามาค้าขายในอาณาจักรเมืองท่าแห่งนี้
ึความหลากหลายทางเชื้อชาติ มิได้ก่อให้เกิดความแตกแยกทางความเชื่อหรือวัฒนธรรม
แต่กลับเป็นการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและผสมผสาน
สยามยุทธ์
เหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมูลเหตุใหญ่ๆ
คือ ความต้องการแสดงพระองค์ของกษีตริย์ในฐานะ พระจักรพรรดิราช
เหนือพระเจ้าแผ่นดินอื่น และเพื่อกวาดต้อนคน "คน" อันเป็นแรงงาน
และกำลังรบ กับ ครอบครองสินค้าสำคัญของรัฐอื่น สงครามจึงไม่ใช่เรื่องของรัฐต่อรัฐ
หากเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์รัฐหนึ่งกับพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง
ศึกอลองพญา
ศึกอลองพญาในครั้งนั้น แสดงให้เห็นมิติที่แตกต่างในเชิงตำรา
พิชัยสงคราม ศึกครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาเลือก "รบด้วยการรับ" คือ
การใช้เมืองเป็นตัวรบ ให้ข้าศึกบุกเข้ามาประชิดเมือง เนื่องจาก
ไม่ต้องการเสียไพร่กำลังพลมากมายด้วยการเป็น ฝ่ายรุก
แผนที่ความยอกย้อนบนแผ่นกระดาษ(Map)
บนผืนดินตามธรรมชาติ หาได้มีเส้นแบ่งใดๆ มาขวางกั้นผู้คนไม่
แต่เส้นพรมแดนก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อแบ่ง "เขา" สร้าง "เรา" และรวมไปถึงสร้าง "ชาติ"
ให้มีตัวตนขึ้นมาจริง ๆ
กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา
เมื่อสิ้นอยุธยา.. ชาวกรุงศรีก็สร้างเมืองของพวกเขาขึ้นมาใหม่
บนผืนดิน "บางกอก" พวกเขาได้จำลองแนวคิดและสืบสานวัฒนธรรม
มาจากเมืองเก่ามากมาย
ชีวิตนอกกรุงเทพฯ(Village Life)
เรามารู้จักกับอุปกรณ์ เครื่องมือดัีกสัตว์ เครื่องมือทำกิน
ความเชื่อ และพิธีกรรม ที่มี "ภูมิปัญญา" ของ วิถีเกษตร แทรกซึมอยู่ในทุกอณู
แปลงโฉมสยามประเทศ(Change)
การเดินถนน ไม่เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการคมนาคมเท่านั้น
หากยังเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนที่คุ้นชินกับสายน้ำและความแช่มช้า
นับจากนี้ถนน จะเร่งกงล้อแห่งความเปลี่ยนแปลงให้สยามเปลี่ยนโฉมไปตลอดกาล
กำเนิดประเทศไทย(Politics & Communications)
คุณรุ้ไหมว่า? วันเกิดของประเทศไทยวันที่เท่าไร ? แล้ว "กรมโฆษณาการ" มาเกี่ยวข้องอะไรด้วย
อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์
"24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์ ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบอารยะประชาธิปไตย ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี..."
...คงไม่มีใครไม่ทราบว่า วันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้นมีความสำคัญทางประวัติ
ศาสตร์การเมืองของประเทศอย่างไร เพราะว่าวันนี้เป็นวันเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบที่มีรูปแบบการ
ปกครองที่มีรัฐสภา มีคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารสูงสุด
ในอดีต วันที่ 24 มิถุนายน เคยถูกกำหนดให้เป็น "วันชาติ" ของประเทศด้วย
ดังปรากฏอยู่ในประกาศ เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 ในสมัย
พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี"
และนอกจากจะมีฐานะเป็นวันคล้ายวันเกิดของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยแล้ว
24 มิถุนายน ยังเป็น "วันเกิดประเทศไทย" อีกด้วย
"นอกจากนี้แล้วในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 (วันเดียวกัน) รัฐบาลได้ออก
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี "ว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ, ประชาชน และ
สัญชาติ" โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า (ตัดทอนข้อความมาบางส่วน) ในภาษา
ไทย ประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า "ไทย" ในภาษาอังกฤษ ชื่อประเทศ
ให้ใช้ว่า Thailand ชื่อประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า Thai... "
ปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบที่มีรูปแบบการ
ปกครองที่มีรัฐสภา มีคณะรัฐมนตรี โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารสูงสุด
ในอดีต วันที่ 24 มิถุนายน เคยถูกกำหนดให้เป็น "วันชาติ" ของประเทศด้วย
ดังปรากฏอยู่ในประกาศ เรื่องวันชาติ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 ในสมัย
พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี"
และนอกจากจะมีฐานะเป็นวันคล้ายวันเกิดของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยแล้ว
24 มิถุนายน ยังเป็น "วันเกิดประเทศไทย" อีกด้วย
"นอกจากนี้แล้วในวันที่ 24 มิถุนายน 2482 (วันเดียวกัน) รัฐบาลได้ออก
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี "ว่าด้วยรัฐนิยมใช้ชื่อประเทศ, ประชาชน และ
สัญชาติ" โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า (ตัดทอนข้อความมาบางส่วน) ในภาษา
ไทย ประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า "ไทย" ในภาษาอังกฤษ ชื่อประเทศ
ให้ใช้ว่า Thailand ชื่อประชาชน และสัญชาติ ให้ใช้ว่า Thai... "
สีสันตะวัน(Thailand and the World)
ประวัติศาสตร์โลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา ภายหลังบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่2
ในทศวรรษ 1940 เศรษฐกิจที่กำลังรุ่งเรือง ผู้คนยิ้มแย้มแจ่มใส เสียงเพลงแห่งความหวัง
และสนุกสนาน ล่อมให้ผู้คนลืมความเจ็บปวดจากสงครามไปได้หมดสิ้น และประเทศไทยก็โกย
"ดอลล่าร์" จากการเปิดอ้ารับวัฒนธรรมอเมริกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน
เมืองไทยวันนี้(Thailand Today)
ผ่านกาลเวลามากกว่า 3,000 ปี มีสิ่งใดบ้างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนฝังตรึงเป็น
"ดีเอ็นเอ" (DNA) ของความเป็นไทย มีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่ยังอยู่กับเรา และมีสิ่งดีๆใดบ้าง
ที่หล่นหายไปอย่างน่าเสียดาย ภาวะอันสับสนของคนรุ่นปัจจุบันน่าจะแก้ไขได้ หากเราเรียนรู้
"ความเป็นไทย" ที่แท้จริง ความเป็นไทยที่อยู่บนพื้นฐานของความหลากหลาย ความเป็นไทยที่รู้จัก
"เลือกรับ-ปรับใช้" ผสมผสานสิ่งดีงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเรา
มองไปข้างหน้า(Thailand Tomorrow)
วันพรุ่งนี้ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร คนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นที่จะให้คำตอบ
การให้ความคิดเห็นผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ให้ความสะดวกต่อผู้ใช้งาน
และจัดเก็บไว้ได้อย่างง่ายดาย
และขอเชิญทุกท่านร่วมชมนิทรรศการลูกทุ่งไทย "จับไมค์ ใส่ขนนก"
ตั้งแต่วันที่ 26.03.2010 - 20.06.2010
เราใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงในการเดินค้นคว้าหาข้อมูลในพิพิธภัณฑ์
การเดินทางรอบมิวเซียมสยาม ก็ได้จบลงเพียงเท่านี้..
ผมขอขอบคุณผู้ร่วมเดินทา่งทุกๆท่านครับ
ใช่ว่า..จะมีแค่นี้นะครับ
ผมมีของแถมให้ เป็นรูปเล็กๆน้อยๆจากวัดโพธิ์ที่อยู่
ในบริเวณใกล้เคียง เผื่อว่าอาจจะมีบางท่านสนใจไปเที่ยวขึ้นมา
ความเป็นมา | ||
รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมี คุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแหล่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบและเนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งแสวงหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬา โรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้ สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด (school without walls) เพราะคุณภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ "พิพิธภัณฑ์" ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน
ก่อนจะมาเป็นมิวเซียมสยาม ที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของกระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่มีแนวคิดการสร้าง ตั้งแต่สมัยอยุธยา มาจนถึงปัจจุบัน |
นิยาม และบทบาทพิพิธภัณฑ์ยุคใหม่
ในศตวรรษที่ 21 พิพิธภัณฑ์ (Museum) ไม่ได้หมายถึง เพียงสถาบันที่จัดแสดงวัตถุอันมีค่าของสังคมเพื่อให้ประชาชนเข้าชมเท่านั้น หากมีเป้าหมายเพื่อเปิดกว้างทางการศึกษา และทั้งนำมาซึ่งความมีชีวิตชีวา และความเพลิดเพลิน
ทั้งนี้ผูสร้างพิพิธภัณฑ์ยังเป็นสถาปนิกที่เข้าใจในเรื่องของมัลติมีเดียอย่้างเห็นได้ชัด
และนำสื่อที่เป็นมีเดียมาช่วยในการดำเนินเรื่องหรือนำเสนอเรื่องราวได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เนื้อหาการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
" ความเป็นมาของผู้คนและดินแดนในประเทศไทย"
-แสดงภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยาของประเทศไทยในภูมิภาคที่เกื้อกูลให้เกิดผลดีนานัปการ ทั้งด้านการเกษตร การค้าอันอุดมสมบูรณ์มาแต่โบราณ
-แสดงความหลากหลายของทั้งสภาพแวดล้อมทางชีวภาพและความหลากหลายของชาติพันธุ์ในภูมิภาคที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมระบบความเชื่อ และวิถีปฏิบัติที่หลากหลาย และการเชื่อมโยงประสมประสานในภูมิภาค
-แสดงถึงศักยภาพและความสามารถของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทย ที่พัฒนาเป็นคุณลักษณะ " คนไทย" ขึ้นจากการปรับตัวในพื้นที่กึ่งกลาง ได้อย่างสมดุลและชาญฉลาด ก่อเกิดความมั่นคงและสันติสุข รวมทั้งการพัฒนาภูมิปัญญา สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาโดยตลอด และเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าสู่อนาคตที่ไร้พรมแดน
อ้างอิง : http://www.ndmi.or.th/ndmi/project.html