Google search*

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

มรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว"KYOTO-OSAKA"


Bangkok Art and Culture Centre.(Ass01)











Bangkok Art and Culture Centre.

หรือหอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

วันที่24/03/2010
ทุกวันนี้คุณลืมไปแล้วรึเปล่า!!
ศิลปะและวัฒนธรรมของทุกๆที่มีการดำเนินมาจนถึงปัจจุบันและมีรอยต่อมาจากอดีต
จากท้องทุ่งรังสิตสู่กลางใจเมืองย่านสยามแสควร์ เราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการเดินเท้าสยามดิสคัฟเวอรี่-หอศิลป์โดยสกายวอล์ค
มุมมองจากชาวต่างชาติ 'เห็นสมควรที่จะมีพิพิธพัณฑ์เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมของประเทศท่ามกลา่งความวุ่นวายกลางใจเมืองกรุงเทพ
ด้านหน้าของพิพิธพัณฑ์จัดกิจกรรมให้ประชาชนคนไทยรักกันและสามัคคีซึ่งกัน













มีการเขียนภาพฝาผนังติดตามตัวอาคารทำให้ดึงดูดความสนใจจากผู้คนภายนอก





สู่ภายในอาคารมีลักษณะมีการทำสเปซภายในให้รู้สึกโปร่งโล่งสบายสามารถมองจากชั้นล่างสุดไปยันชั้นสูงสุดได้เลย
ลุยกันเลย!!
ตั้งแต่ชั้นสามของพิพิธพัณฑ์จะมีการแสดงผลงานโชว์ของศิลปินอยู่เรื่อยๆรวมไปถึงพื้นที่ของร้านค้าขายของต่างๆ
มีการจัดสตอรี่ภายในให้เดินวนเืพื่อให้ผ่านและเห็นผลงานแสดงและร้านค้าทั่วไป

อ๊ะ!! มาตั้งนานถึงจนได้
นี่ไงล่ะ! ผลงานอันดับหนึ่งของรัฐสภาแห่งใหม่ ส่วนภายในนิทรรศการก็จะโชว์ผลงานการออกแบบทั้งหมดของรัฐสภาแห่งใหม่
ส่วนอันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว









ผลงานการแสดงของศิลปินต่างๆจะอยู่ตามฝาผนังทั่วไป






























ขอบผนังจากชั้น7-9มีการทำช่องลอดผ่านของแสงมาตกกระทบกับฝาผนัง
เปิดช่ิองว่างภายในมุมตึก!
ทางเดินขึ้นชั้นต่อชั้นเป็นทางเดินวนและโชว์ผลงาน













จากชั้นบนมองลงล่าง!









ถึงชั้นที่8 เป็นนิทรรศการจัดโซนเป็นซุ๊มๆไป ทุกซุ๊มจะใช้กระดาษสีขาวเท่านั้นทำให้ข้างในซุ๊มต่างๆดูน่าสนใจ

























































































ความเป็นมาของหอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ความคิดเรื่องการมีหอศิลป์สำหรับประชาชนในวงกว้าง เกิดขึ้นมาตลอดระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากในอดีตนโยบายภาครัฐยังไม่มีความชัดเจนในการสนับสนุนงานด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างจริงจัง และเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สิ่งนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของแนวร่วมศิลปินไทยในการสร้างหอศิลปะร่วมสมัย เพื่อให้มีหอศิลป์ที่ทัดเทียมกับสากลและเป็นเกียรตืศักดิ์ศรีกับประเทศ รวมทั้งเพื่อให้สังคมมีแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นทางเลือกเพื่อจรรโลงยกระดับจิตใจควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ หอศิลป์สำหรับประชาชนควรเป็นการลงทุนจากภาครัฐ โดยไม่แสวงหาผลกำไรทางธุรกิจ เป็นการลงทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเช่นเดียวกับการสร้างสาธารณูปโภค การสร้างหอศิลป์เปรียบเป็นสาธารณูปโภคทางสมอง หรือ software ทางปัญญาที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการสร้าง hardware

การก่อสร้างหอศิลป์บริเวณย่านปทุมวันซึ่งเป็นแหล่งรวมของเยาวชนวัยรุ่น จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดพวกเขาให้หันมาสนใจและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แสวงหาความรู้ความเข้าใจ ได้แสดงออก และ พักผ่อนหย่อนใจในเวลาเดียวกัน กระทั่งนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในปี 2547 เครือข่ายศิลปินและประชาชนจึงได้นำโครงการหอศิลป์เข้าหารือ และ ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการจัดสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตามโครงการเดิม


>>> ภาพการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้ผู้ บริหารกรุงเทพมหานครในสมัยนั้นทบทวนโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ภาพเขียนในการรณรงค์ "ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า" บริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งอาคารหอศิลปฯ ในปัจจุบัน

หอศิลปฯเพื่อมวลชน

นับเป็นเวลา 10 ปีหอศิลปฯ ต้องใช้เวลาเดินทาง ผ่านการผลักดันและรณรงค์อย่างเข้มข้น จนในที่สุด อาคารหอศิลปฯ ก็เกิดขึ้น ณ สี่แยกปทุมวัน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความร่วงมือครั้งสำคัญ
ในการส่งเสริมศิลปะระหว่างกรุงเทพมหานครและเครือข่ายประชาชนเพื่อหอศิลปะวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร การเดินทาง สู่การรับรู้ศิลปะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว อาคารงดงามแห่งนี้เป็นเสมือนจุดนัดพบทางปัญญา ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายและชื่นชมง่าย ทุกคนสามารถมารวมตัวกันเพื่อร่วมกิจกรรมด้านศิลปะอันหลากหลาย นิทรรศการหมุนเวียน ดนตรี กวี ละคร ภาพยนตร์ เสวนา และวรรณกรรม เป็นการเปิดโลกทรรศน์ใหม่ในการเรียนรู้ นำไปสู่ความเจริญทางปัญญา สุขภาพทางใจ และการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป


อ้างอิง http://www.bacc.or.th/



-มุมมองทางด้านสถาปัตยกรรม
ความสัมพันธ์ ฟอร์มภายนอก-สเปซภายใน
การจัดองค์ประกอบของพิพิธพัณ
การวางdialog-storyในการดำเนินเรื่องราวของพิพิธพัณ
-ข้อมูล-ผลงานการแสดงภายใน
การจัดนิทรรศการต่างๆ-ศิลปะ

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

Introduction of lesson


ARC 423 : Special Topic of Architectural Design
by : A.Monchai (site : tonymonchai.com)

Evaluation
Assignment 01 : 10% - Bangkok Art and Culture Centre -อ้างอิง http://www.bacc.or.th/
Assignment 02 : 10% - Musuem of SIAM (31เมษายน2553 13:00)
Assignment 03 : 10%
จัดสมนา : 25%
Final Project : 25%
Classroom : 10%
ClassEvent : 10%







ผู้ติดตาม